โทนชาตรี ปี่กาหลอ ปี่ไหน กลองชาตรี กรับชัก ฆ้องคู่ เครื่องดนตรีไทย พื้นเมืองภาคใต้

เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ ได้แก่

ทับ หรือ โทนชาตรี เป็นกลอง ชนิด หุ้มหนังหน้าเดียว หุ่นกลอง นิยมใช้ แก่นไม้ขนุน ทำ หน้ากลอง นิยมใช้หนังบาง ๆ เช่น หนังค่าง หรือหนังแมวขึงขึ้นหน้า โดย ใช้ เชือก หรือ หวายผูกตรึง ไว้กับหุ่น ทับ ใช้ตี ให้จังหวะ ควบคุม การ เปลี่ยน จังหวะ เสริมลีลา ท่าทาง การ แสดง ละครชาตรี โนรา และ หนังตะลุง ตามปกติใช้ทับ 2 ลูก ตี ประกอบ กับ กลองชาตรี ตำนาน โนรา เรียกทับลูกหนึ่งว่า “น้ำตาตก” และอีก ลูกหนึ่งว่า “นกเขาขัน”

ปี่กาหลอ หรือ ปี่ห้อ เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เลาปี่ทำด้วยไม้ยาวประมาณ 13 นิ้ว มีรูบังคับเสียง 7 รู และด้านล่างมีรูนิ้วหัวแม่มือ 1 รู ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาลมีบังลมทำด้วยไม้ หรือเปลือกหอยมุก ด้านล่าง เป็นลำโพงปี่ ทำด้วยไม้ปากบาน เพื่อขยายเสียง (เช่นเดียวกับปี่ชวา)

นิยมใช้ลูกปัดสีต่าง ๆ ร้อยห้อยที่เลาปี่เพื่อตกแต่งด้วย ปี่กาหลอใช้เป่าบรรเลงในงานศพ หรืองานบวชที่ผู้บวชจะไม่สึก

ปี่ไหน เป็นเครื่องเป่าที่มีรูปร่างเหมือนปี่ใน หรือปี่นอกของภาคกลาง แต่เล็กกว่าปี่นอก ระดับเสียงสูงกว่า ปี่รูบังคับเสียง 6 รู ลิ้นทำด้วยใบตาลผูกติดกับท่อลมเล็ก ๆ (กำพวด) ปี่ไหน นิยมใช้เป่า ประสมใน วงดนตรี ประกอบการแสดง โนราและหนังตะลุง


กลองชาตรี หรือ กลองดตุ๊ก มีรูปร่างเช่นเดียวกับ “กลองทัด” แต่มีขนาดเล็กกว่าหลายเท่า มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10″ – 12″ สูงประมาณ 18 ” หุ่นกลองนิยมใช้ไม้ขนุนทำ เพราะทำให้เสียงดังดี หน้ากลองขึงด้วยหนังวัว หรือหนังควาย โดยใช้หมุดไม้ (ชาวใต้เรียก “ลูกสัก”) ตอกยึดไว้กับตัวหุ่น

กลองชาตรีใช้ตีประกอบการแสดงละครชาตรี โนราและหนังตะลุง (โดยใช้เป็นจังหวะ เสริมลีลาท่าทางการแสดง) ตำนานโนราเรียกกลองชนิดนี้ว่า “กลองสุวรรณเภรีโลก” โนรารุ่นเก่าใช้ตีเวลาผ่านชุมชน หรือสถานที่ ๆ ควรเคารพบูชา ตีเป็นสัญญาณบอกคน หรือเรียกคนให้มาดูการแสดง

กราว หรือ กรับชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งเหลาบาง ๆ กว้างประมาณ11/2 นิ้ว ยาวประมาณ 9 นิ้ว จำนวน 6 -10 อัน นำมาร้อยติดกันเป็นพวง (เช่นเดียวกับกรับพวง) โดยเจาะรูตรงกลาง สวมกับหลักซึ่งตรึงกับฐานไม้หนา ๆ อันบนสุดมีมือจับ กราวหรือกรับชัก นิยมใช้เล่นประกอบจังหวะการแสดงโนราอย่างเดียว เพราะเสียงดัง หนักแน่นมาก

ฆ้องคู่ เป็นฆ้อง 2 ใบ ใบหนึ่งเสียงสูง อีกใบหนึ่งเสียงต่ำ แขวนขึงอยู่กับรางไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (สมัยโบราณใช้โหม่งฟาก ซึ่งทำด้วยแผ่นเหล็ก 2 อัน) ฆ้องคู่ใช้ตีประกอบการเล่นละครชาตรี โนราและหนังตะลุง โดยประสมกับกลองชาตรี ทับ ฉิ่ง และ ปี่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *