แคน โหวด พิณไห ซอบั้ง เครื่องดนตรีไทย พื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เครื่องดนตรีพื้นเมือง ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่

พิณ พิณพื้นเมือง ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเรียก แตกต่างกัน เช่น ซุง หมากจับปี่ หมากต้องโต่ง และหมากตับแต่ง มีสายตั้งแต่ 2 – 4 สาย ชนิดที่มี 4 สาย ก็ คล้าย กับ ซึง ของ ภาคเหนือ แต่ ปลาย กะโหลก พิณ ป้านกว่า พิณพื้นเมือง ภาคนี้ ทำด้วย ไม้เนื้อแข็ง ประดิษฐ์ขึ้น อย่าง ง่าย ๆ ไม่สู้จะประณีตนัก ใช้ เล่นเดี่ยว หรือเล่น ร่วมกับ วงแคน และโปงลาง

โปงลาง เป็นเครื่องตี ทำด้วยไม้ร้อยต่อกันจำนวน 12 ท่อนด้วยเชือกเป็นผืน แต่ละท่อนมีขนาด และความยาวลดหลั่นกันตามลำดับ จากใหญ่ลงมาเล็ก เวลาเล่นใช้ด้านใหญ่ (ด้านบน) แขวนกับกิ่งไม้ หรือไม้ขาตั้ง ด้านเล็ก (ด้านล่าง) ใช้เท้าผู้เล่น หรือทำที่เกี่ยวยึดไว้ มักใช้ผู้เล่น 2 คน คนหนึ่งเล่นทำนองเพลงเรียก “หมอเคาะ” อีกคนหนึ่งทำหน้าที่เคาะประสานเสียงทำจังหวะเรียก “หมอเสิร์ฟ” โปงมีเสียง 5 เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา ไม่มีเสียง ฟาและที

แคน เป็นเครื่องเป่า ทำด้วยไม้ซางขนาดต่าง ๆ นำมาเรียงลำดับผูกติดกันเป็น 2 แถว ๆ ละ 6 ลำบ้าง 7 ลำบ้าง หรือ 8 ลำบ้าง สุดแท้แต่ว่าจะเป็นแคนหก แคนเจ็ด หรือแคนแปด โดยเรียงลำใหญ่ไว้คู่หน้า และลำเล็ก ๆ เป็นคู่ถัดไป ตามลำดับ และต้องเรียงให้กลางลำตรงที่ใส่ลิ้นอยู่ในระดับเดียวกัน แล้วเอาไม้จริง มาถาก เจาะรูสำหรับเป่า (เรียกส่วนนี้ว่า “เต้า”) เอาลำไม้ซางที่เรียงไว้ สอดลงในเต้าให้พอดีกับตรงที่ใส่ลิ้นไว้ แล้วเอาชัน หรือขี้ผึ้ง พอกกันลมรั่ว เหนือเต้าขึ้นไปประมาณ 4 – 5 ซม. เจาะรูด้านข้างของลำไม้ซางตั้งแต่คู่ที่ 2 เป็นต้นไป ลำละ 1 รู สำหรับนิ้วปิดเปิดเปลี่ยนเสียง ส่วนคู่แรก เจาะรูด้านหน้าเหนือเต้าขึ้นไปประมาณ 2 – 3 ซม. สำหรับนิ้ว หัวแม่มือ ปิดเปิด การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้า และดูดลมออก โดยเป่าตรงหัวเต้าด้านที่เจาะรูไว้ อาจกล่าวได้ว่า แคน เป็นเครื่องดนตรีสัญลักษณ์ของภาคอีสาน ประชาชนแถบนี้นิยมเป่าเล่นสืบต่อกันมาช้านาน ทั้งเล่นเดี่ยว คลอ การร้อง และเล่นเป็นวงโดยผสมกับเครื่องดนตรีอื่น เช่น พิณ โปงลาง กลอง ฯลฯ ประกอบการ แสดงพื้นบ้าน ภาคอีสานต่าง ๆ

โหวด เป็นเครื่องเป่าไม่มีลิ้น ตัวโหวดทำด้วยไม้ไผ่รวก (หรือไม้เฮี้ย) ลำเล็ก ๆ สั้นยาวต่างกัน จำนวน 6 – 9 ลำ มัดติดกับกระบอกไม้ไผ่ที่เป็นแกนกลาง โดยใช้ขี้สุดติด แต่ละลำจะมีระดับเสียงแตกต่างกันตามขนาดสั้น ยาว ตามปกติโหวดมีเสียง 5 เสียง แต่เดิมใช้เชือกผูกปลายด้านหนึ่ง แล้วเหวี่ยงหมุนกลับไปกลับมา ทำให้เกิดเสียงโหยหวล ต่อมาใช้ปากเป่าเล่นเพลงพื้นบ้าน เป็นที่นิยมกันทั่วไปในแถบภาคอีสาน

จ้องหน่อง หึน หรือหุน เป็นเครื่องดีด ทำด้วยไม้ไผ่เหลาบาง ๆ ยาว 12 – 15 ซม. กว้าง 11/2 ซม. หนา 1/2 ซม. ตรงกลางเซาะร่องเป็นลิ้นในตัว ปลายด้านหนึ่งสำหรับจับ อีกด้านหนึ่งใช้ดีดด้วยนิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วชี้ เวลาเล่นประกบลิ้นจ้องหน่องเข้ากับปาก โดยเฉพาะกระพุ้งแก้มใช้เป็นกล่องเสียง สามารถทำเสียงได้ 2 – 3 เสียงเท่านั้น ดีดเป็นทำนองได้เล็กน้อย เครื่องดนตรีชนิดนี้ใช้เล่นกันมาแต่โบราณ โดยมากใช้เล่นคนเดียวยามว่าง เป็นที่นิยมกันทางแถบอีกสานเหนือ

พิณไห เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ทำด้วยไหซอง หรือไหกระเทียม ใช้ยางเส้นหนา ๆ ขึงที่ปากไห เวลาเล่น ใช้มือดึงเส้นยางให้สั่นเกิดเสียงสูง – ต่ำ อย่างไรขึ้นอยู่กับขนาดของไห และการขึง เส้นยางให้ตึงหย่อนต่างกัน พิณไหใช้เล่นประกอบจังหวะในวงโปงลาง แคน พิณ ปกติชุดหนึ่งมี 2 – 3 ลูก หรืออาจมากกว่าก็ได้ โดยมากมักให้หญิงสาวแต่งตัวพื้นเมืองสวยงาม ยืนเล่นด้วยลีลาอ่อนช้อยตามจังหวะ เป็นที่สะดุดตาในวง

ซอกระดองเต่า หรือซอเขาควาย เป็นเครื่องสี กระโหลกซอทำด้วยกระดองเต่าตัดส่วนหน้าออก หรือทำด้วยเขาควายตัดขนาดตามต้องการ แล้วขึงด้วยหนังงู คันซอทำด้วยไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ 40 ซม. มีลูกบิดสำหรับขึงสาย 2 อัน สายซอเป็นสายลวด คันชักอยู่ระหว่างสายซอทั้ง 2 สาย ซอชนิดนี้เป็นที่นิยมในแถบอีสานใต้ ชาวบ้านทำเล่นกันมานานแล้ว ใช้บรรเลงเยวในวงกันตรึม และบรรเลงเพลงพื้นบ้านอีสานใต้

ซอบั้ง เป็นซอของชาวภูไท ทำจากกระบอกไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง (ชาวบ้านเรียกไม้โกะ) โดยใช้กระบอกไม้ไผ่ชิ้นเดียวกัน เป็นทั้งกะโหลกซอ และคันซอ ไปในตัว โดยช่างทำซอจะเหลากระบอกให้บาง ทำหน้าที่คล้ายหนังหุ้มกะโหลกซอ ซอบั้งมี 2 สาย เป็นสายลวด คันชักอยู่นอกสาย เวลาสีต้องสีให้ถูกสายทั้ง 2 สายตลอดเวลา เพื่อให้ได้เสียง ที่เป็นทำนอง และเสียงประสานควบคู่กันไป ซอชนิดนี้นิยมใช้สีประสานเสียงกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ประกอบ การฟ้อนภูไท

ซอปี๊บ เป็นซอ 2 สาย เป็นสายลวด กะโหลกทำจากปี๊บน้ำมันก๊าด หรือปี๊บขนม คันชักอาจจะอย ู่ระหว่าง สายทั้งสอง หรืออยู่ข้างนอกก็ได้ แต่ส่วนมากนิยมให้คันชักอยู่ข้างนอก ซอปี๊บใช้สีเดี่ยว หรือสีคลอเสียงหมอลำ

ซอกระป๋อง เป็นซอ 2 สายเช่นเดียวกับซอปี๊บ เพียงแต่กระโหลกทำด้วยกระป๋อง และคันชัก อยู่ระหว่าง สาย ทั้งสอง นิยมใช้สีประกอบการขับร้อง หรือสีเพลงลายพื้นเมืองของแคน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *