แคน โหวด พิณไห ซอบั้ง เครื่องดนตรีไทย พื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เครื่องดนตรีพื้นเมือง ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่

พิณ พิณพื้นเมือง ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเรียก แตกต่างกัน เช่น ซุง หมากจับปี่ หมากต้องโต่ง และหมากตับแต่ง มีสายตั้งแต่ 2 – 4 สาย ชนิดที่มี 4 สาย ก็ คล้าย กับ ซึง ของ ภาคเหนือ แต่ ปลาย กะโหลก พิณ ป้านกว่า พิณพื้นเมือง ภาคนี้ ทำด้วย ไม้เนื้อแข็ง ประดิษฐ์ขึ้น อย่าง ง่าย ๆ ไม่สู้จะประณีตนัก ใช้ เล่นเดี่ยว หรือเล่น ร่วมกับ วงแคน และโปงลาง

โปงลาง เป็นเครื่องตี ทำด้วยไม้ร้อยต่อกันจำนวน 12 ท่อนด้วยเชือกเป็นผืน แต่ละท่อนมีขนาด และความยาวลดหลั่นกันตามลำดับ จากใหญ่ลงมาเล็ก เวลาเล่นใช้ด้านใหญ่ (ด้านบน) แขวนกับกิ่งไม้ หรือไม้ขาตั้ง ด้านเล็ก (ด้านล่าง) ใช้เท้าผู้เล่น หรือทำที่เกี่ยวยึดไว้ มักใช้ผู้เล่น 2 คน คนหนึ่งเล่นทำนองเพลงเรียก “หมอเคาะ” อีกคนหนึ่งทำหน้าที่เคาะประสานเสียงทำจังหวะเรียก “หมอเสิร์ฟ” โปงมีเสียง 5 เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา ไม่มีเสียง ฟาและที

แคน เป็นเครื่องเป่า ทำด้วยไม้ซางขนาดต่าง ๆ นำมาเรียงลำดับผูกติดกันเป็น 2 แถว ๆ ละ 6 ลำบ้าง 7 ลำบ้าง หรือ 8 ลำบ้าง สุดแท้แต่ว่าจะเป็นแคนหก แคนเจ็ด หรือแคนแปด โดยเรียงลำใหญ่ไว้คู่หน้า และลำเล็ก ๆ เป็นคู่ถัดไป ตามลำดับ และต้องเรียงให้กลางลำตรงที่ใส่ลิ้นอยู่ในระดับเดียวกัน แล้วเอาไม้จริง มาถาก เจาะรูสำหรับเป่า (เรียกส่วนนี้ว่า “เต้า”) เอาลำไม้ซางที่เรียงไว้ สอดลงในเต้าให้พอดีกับตรงที่ใส่ลิ้นไว้ แล้วเอาชัน หรือขี้ผึ้ง พอกกันลมรั่ว เหนือเต้าขึ้นไปประมาณ 4 – 5 ซม. เจาะรูด้านข้างของลำไม้ซางตั้งแต่คู่ที่ 2 เป็นต้นไป ลำละ 1 รู สำหรับนิ้วปิดเปิดเปลี่ยนเสียง ส่วนคู่แรก เจาะรูด้านหน้าเหนือเต้าขึ้นไปประมาณ 2 – 3 ซม. สำหรับนิ้ว หัวแม่มือ ปิดเปิด การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้า และดูดลมออก โดยเป่าตรงหัวเต้าด้านที่เจาะรูไว้ อาจกล่าวได้ว่า แคน เป็นเครื่องดนตรีสัญลักษณ์ของภาคอีสาน ประชาชนแถบนี้นิยมเป่าเล่นสืบต่อกันมาช้านาน ทั้งเล่นเดี่ยว คลอ การร้อง และเล่นเป็นวงโดยผสมกับเครื่องดนตรีอื่น เช่น พิณ โปงลาง กลอง ฯลฯ ประกอบการ แสดงพื้นบ้าน ภาคอีสานต่าง ๆ

โหวด เป็นเครื่องเป่าไม่มีลิ้น ตัวโหวดทำด้วยไม้ไผ่รวก (หรือไม้เฮี้ย) ลำเล็ก ๆ สั้นยาวต่างกัน จำนวน 6 – 9 ลำ มัดติดกับกระบอกไม้ไผ่ที่เป็นแกนกลาง โดยใช้ขี้สุดติด แต่ละลำจะมีระดับเสียงแตกต่างกันตามขนาดสั้น ยาว ตามปกติโหวดมีเสียง 5 เสียง แต่เดิมใช้เชือกผูกปลายด้านหนึ่ง แล้วเหวี่ยงหมุนกลับไปกลับมา ทำให้เกิดเสียงโหยหวล ต่อมาใช้ปากเป่าเล่นเพลงพื้นบ้าน เป็นที่นิยมกันทั่วไปในแถบภาคอีสาน

จ้องหน่อง หึน หรือหุน เป็นเครื่องดีด ทำด้วยไม้ไผ่เหลาบาง ๆ ยาว 12 – 15 ซม. กว้าง 11/2 ซม. หนา 1/2 ซม. ตรงกลางเซาะร่องเป็นลิ้นในตัว ปลายด้านหนึ่งสำหรับจับ อีกด้านหนึ่งใช้ดีดด้วยนิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วชี้ เวลาเล่นประกบลิ้นจ้องหน่องเข้ากับปาก โดยเฉพาะกระพุ้งแก้มใช้เป็นกล่องเสียง สามารถทำเสียงได้ 2 – 3 เสียงเท่านั้น ดีดเป็นทำนองได้เล็กน้อย เครื่องดนตรีชนิดนี้ใช้เล่นกันมาแต่โบราณ โดยมากใช้เล่นคนเดียวยามว่าง เป็นที่นิยมกันทางแถบอีกสานเหนือ

พิณไห เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ทำด้วยไหซอง หรือไหกระเทียม ใช้ยางเส้นหนา ๆ ขึงที่ปากไห เวลาเล่น ใช้มือดึงเส้นยางให้สั่นเกิดเสียงสูง – ต่ำ อย่างไรขึ้นอยู่กับขนาดของไห และการขึง เส้นยางให้ตึงหย่อนต่างกัน พิณไหใช้เล่นประกอบจังหวะในวงโปงลาง แคน พิณ ปกติชุดหนึ่งมี 2 – 3 ลูก หรืออาจมากกว่าก็ได้ โดยมากมักให้หญิงสาวแต่งตัวพื้นเมืองสวยงาม ยืนเล่นด้วยลีลาอ่อนช้อยตามจังหวะ เป็นที่สะดุดตาในวง

ซอกระดองเต่า หรือซอเขาควาย เป็นเครื่องสี กระโหลกซอทำด้วยกระดองเต่าตัดส่วนหน้าออก หรือทำด้วยเขาควายตัดขนาดตามต้องการ แล้วขึงด้วยหนังงู คันซอทำด้วยไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ 40 ซม. มีลูกบิดสำหรับขึงสาย 2 อัน สายซอเป็นสายลวด คันชักอยู่ระหว่างสายซอทั้ง 2 สาย ซอชนิดนี้เป็นที่นิยมในแถบอีสานใต้ ชาวบ้านทำเล่นกันมานานแล้ว ใช้บรรเลงเยวในวงกันตรึม และบรรเลงเพลงพื้นบ้านอีสานใต้

ซอบั้ง เป็นซอของชาวภูไท ทำจากกระบอกไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง (ชาวบ้านเรียกไม้โกะ) โดยใช้กระบอกไม้ไผ่ชิ้นเดียวกัน เป็นทั้งกะโหลกซอ และคันซอ ไปในตัว โดยช่างทำซอจะเหลากระบอกให้บาง ทำหน้าที่คล้ายหนังหุ้มกะโหลกซอ ซอบั้งมี 2 สาย เป็นสายลวด คันชักอยู่นอกสาย เวลาสีต้องสีให้ถูกสายทั้ง 2 สายตลอดเวลา เพื่อให้ได้เสียง ที่เป็นทำนอง และเสียงประสานควบคู่กันไป ซอชนิดนี้นิยมใช้สีประสานเสียงกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ประกอบ การฟ้อนภูไท

ซอปี๊บ เป็นซอ 2 สาย เป็นสายลวด กะโหลกทำจากปี๊บน้ำมันก๊าด หรือปี๊บขนม คันชักอาจจะอย ู่ระหว่าง สายทั้งสอง หรืออยู่ข้างนอกก็ได้ แต่ส่วนมากนิยมให้คันชักอยู่ข้างนอก ซอปี๊บใช้สีเดี่ยว หรือสีคลอเสียงหมอลำ

ซอกระป๋อง เป็นซอ 2 สายเช่นเดียวกับซอปี๊บ เพียงแต่กระโหลกทำด้วยกระป๋อง และคันชัก อยู่ระหว่าง สาย ทั้งสอง นิยมใช้สีประกอบการขับร้อง หรือสีเพลงลายพื้นเมืองของแคน

ซึง สะล้อ ตะโล้ดโป๊ด ปี่ซอ กลองแอว์ เครื่องดนตรีไทย พื้นเมืองภาคเหนือ

เครื่องดนตรีไทย พื้นเมือง

เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง หมายถึง เครื่องดนตรี ที่ใช้เล่นกัน เพื่อ ความบันเทิง หรือ เล่นประกอบ การแสดงพื้นเมือง ตาม ท้องถิ่น ต่าง ๆ เครื่องดนตรีพื้นเมือง จะ มีลักษณะ แตกต่าง กัน ในแต่ละภูมิภาค ทั้งนี้ เนื่องจาก สภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และ ลักษณะนิสัย ของ ประชาชน ในแต่ละ ท้องถิ่น มีความ แตกต่างกัน

เครื่องดนตรีพื้นเมือง ของไทย จำแนก ตาม ภูมิภาค ได้เป็น 3 ภูมิภาค คือ

  • เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ
  • เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคใต้

เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ ได้แก่


ซึง เป็นเครื่องดีด มี 4 สาย สันนิษฐานว่า น่าจะดัดแปลงแก้ไขวิวัฒนาการมาจากพิณเทียะ ลักษณะของ ซึงตัวกะโหลก และคันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่ หรือ ไม้สักชิ้นเดียวกัน ชาวไทยภาคเหนือ นิยมเล่นซึงกันมาช้านาน ตามปกติใช้เล่นร่วมกับปี่ซอ หรือพวกหนุ่ม ๆ ใช้ดีดเล่นขณะไป “แอ่วสาว”

สะล้อ เป็นเครื่องสี ลักษณะคลายซออู้ แต่ทำไม่ค่อยประณีตนัก คันทวนยาวประมาณ 64 ซม. กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าว ใช้แผ่นไม้บาง ๆ ปิดหน้า กระโหลกแทนการใช้หนัง ลูกบิดมี 2 อัน เจาะเสียบทแยงกัน มีสายเป็นสายลวดทั้ง 2 สาย คันชักแยกต่างหากจากตัวซอ สะล้อใช้เล่นผสมกับซึง และปี่ซอ ประกอบ การขับร้อง เพลงพื้นเมืองทางเหนือ

ตะโล้ดโป๊ด เป็นกลองขึ้นหนังสองหน้า มีรูปร่างลักษณะ และขนาดเช่นเดียวกับ “เปิงมาง” และ “สองหน้า” แต่ตัว กลองยาวกว่าเปิงมาง และสองหน้าตามลำดับ หน้ากลอง ข้างหนึ่งใหญ่ ข้างหนึ่งเล็ก ตีทางหน้าเล็ก กลองชนิดนี้ ใช้ตีคู่กับกลองแอว์ในขบวนแห่ต่าง ๆ และใช้ตีประกอบการฟ้อน กับใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในการเล่นเพลงพื้นเมืองภาคเหนือ

กลองแอว์ เป็นกลองขึ้นหนังหน้าเดียวเช่นเดียวกับกลองยาวของภาคกลาง แต่มีขนาดยาวและใหญ่กว่าหลายเท่า เหตุที่เรียกว่ากลองแอว์ ก็หมายความว่า กลองมีสะเอวนั่นเอง (แอว์คือเอว) ตัวกลองกว้างใหญ่ เอวคอด ตอนท้ายเรียว และปลายบานคล้ายดอกลำโพง กลองชนิดนี้มีประจำตามวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือเกือบทุกวัด สำหรับใช้ตีเป็นสัญญาณประจำวัด นอกจากนี้ ยังใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ประกอบการเล่นพื้นเมือง และใช้ตีเข้าขบวนแห่ในงานพิธี “ปอยหลวง” งานแห่ครัวทาน และงาน “ปอยลูกแก้ว” (บวชเณร)

ปี่ซอ ตัวปี่ทำด้วยไม้รวกปล้องยาว มีหลายขนาด ความยาวตั้งแต่ 45 – 80 ซม. สำรับหนึ่งมีจำนวน 3 เล่ม 5 เล่ม หรือ 7 เล่ม ปี่ซอถ้าใช้ 3 เล่ม มี 3 ขนาด เล่มเล็กเป็นปี่เอก เรียกว่า ปี่ต้อย เล่มกลางเรียกว่า ปี่กลาง และเล่มใหญ่เรียกว่า ปี่ใหญ่

ลักณะการใช้ปี่ซอ

  • ใช้กับทำนองเพลงเชียงใหม่ มักมีซึงร่วมบรรเลงด้วย
  • ใช้กับทำนองเพลงเงี้ยว ตามปกติใช้ปี่เอก หรือปี่ต้อยอย่างเดียวเล่น ร่วมกับซึง หรือบางครั้งอาจใช้ปี่ทั้ง 3 เล่ม ล้วนก็ได้
  • ใช้กับเพลงจ๊อย ซึ่งเป็นเพลงรำพันรักของคนหนุ่มในขณะไปแอ่วสาว (เกี้ยวสาว) ในเวลาค่ำ โดยใช้ปี่เอกเป่าคลอกับการสีสะล้อ
  • ใช้กับทำนองเพระลอ คือ ใช้เป่าประกอบการขับเรื่องพระลอ
  • ใช้กับทำนองเพลงพม่าที่มีสร้องเพลงว่า “เซเลเมา”

ดนตรีไทย และ เครื่องดนตรีไทย

ทัศนะที่ 1 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย ได้แบบอย่าง มาจาก อินเดีย เนื่องจาก อินเดีย เป็นแหล่ง อารยธรรมโบราณ ที่สำคัญ แห่งหนึ่ง ของ โลก อารยธรรม ต่าง ๆ ของอินเดีย ได้เข้ามา มี อิทธิพล ต่อ ประเทศ ต่าง ๆ ในแถบ เอเชีย อย่าง มาก ทั้ง ในด้าน ศาสนา ประเพณี ความเชื่อ ตลอดจน ศิลป แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะ ทางด้านดนตรี ปรากฎ รูปร่าง ลักษณะ เครื่องดนตรี ของ ประเทศ ต่าง ๆ ในแถบ เอเชีย

เช่น จีน เขมร พม่า อินโดนิเซีย และ มาเลเซีย มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน เป็นส่วนมาก ทั้งนี้เนื่องมาจาก ประเทศเหล่านั้นต่างก็ยึดแบบฉบับ ดนตรี ของอินเดีย เป็นบรรทัดฐาน รวมทั้งไทยเราด้วย เหตุผลสำคัญที่ท่านผู้รู้ได้เสนอทัศนะนี้ก็คือ ลักษณะของ เครื่องดนตรีไทย สามารถจำแนกเป็น 4 ประเภท คือ

  • เครื่องดีด
  • เครื่องสี
  • เครื่องตี
  • เครื่องเป่า

ใกล้เคียงกับลักษณะ เครื่องดนตรี อินเดียตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ “สังคีตรัตนากร” ของอินเดีย ซึ่งจำแนกเป็น 4 ประเภท เช่นกันคือ

  • ตะตะ คือ เครื่องดนตรี ประเภทมีสาย
  • สุษิระ คือ เครื่องเป่า
  • อะวะนัทธะ หรือ อาตตะ คือ เครื่องหุ้มหนัง หรือ กลอง ต่าง ๆ
  • ฆะนะ คือ เครื่องตี หรือ เครื่องกระทบ

การสันนิษฐานเกี่ยวกับ กำเนิดหรือที่มาของ ดนตรีไทย ตามแนวทัศนะข้อนี้ เป็นทัศนะที่มีมาแต่เดิม นับตั้งแต่ ได้มีผู้สนใจ และ ได้ทำการค้นคว้าหาหลักฐาน เกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้น และนับว่า เป็นทัศนะที่ได้รับการนำมากล่าวอ้างกันมาก บุคคลสำคัญที่เป็นผู้เสนอแนะแนวทางนี้คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวงการประวัติศาสตร์ของไทย

ทัศนะคติที่ 2 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย เกิดจากความคิด และ สติปัญญา ของคนไทย เกิดขึ้นมาพร้อมกับคนไทย ตั้งแต่ สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ ของประเทศจีนแล้ว

ทั้งนี้เนื่องจาก ดนตรี เป็นมรดกของมนุษยชาติ ทุกชาติทุกภาษาต่างก็มี ดนตรี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของตนด้วยกันทั้งนั้น ถึงแม้ว่าในภายหลัง จะมีการรับเอาแบบอย่าง ดนตรี ของต่างชาติเข้ามาก็ตาม แต่ก็เป็น การนำเข้ามาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม กับ ลักษณะและนิสัยทางดนตรี ของคนในชาตินั้น ๆ ไทยเรา ตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ก็คงจะมี ดนตรี ของเราเองเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ จะสังเกตุเห็นได้ว่า เครื่องดนตรี ดั้งเดิมของไทย จะมีชื่อเรียกเป็นคำโดด ซึ่งเป็นลักษณะของคำไทยแท้ เช่น

  • เกราะ, โกร่ง, กรับ
  • ฉาบ, ฉิ่ง
  • ปี่, ขลุ่ย
  • ฆ้อง, กลอง

ต่อมาเมื่อไทยได้ อพยพ ลงมาตั้งถิ่นฐานในแถบแหลมอินโดจีน จึงได้มาพบวัฒนธรรมแบบอินเดีย โดยเฉพาะ เครื่องดนตรี อินเดีย ซึ่งชนชาติมอญ และ เขมร รับไว้ก่อนที่ไทยจะอพยพเข้ามา ด้วยเหตุนี้ ชนชาติไทย ซึ่งมีนิสัยทางดนตรีอยู่แล้ว จึงรับเอาวัฒนธรรมทางดนตรีแบบอินเดีย ผสมกับแบบมอญและเขมร เข้ามาผสมกับดนตรีที่มีมาแต่เดิมของตน จึงเกิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่

  • พิณ
  • สังข์
  • ปี่ไฉน
  • บัณเฑาะว์
  • กระจับปี่ และจะเข้

ต่อมาเมื่อไทยได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมอินโดจีนอย่างมั่นคงแล้ว ได้มีการ ติดต่อสัมพันธ์ กับประเทศเพื่อนบ้านในแหลมอินโดจีน หรือแม้แต่กับประเทศทางตะวันตกบางประเทศที่เข้ามา ติดต่อค้าขาย ทำให้ไทยรับเอาเครื่องดนตรีบางอย่าง ของประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นมาใช้ เล่นใน วงดนตรีไทย ด้วย เช่น กลองแขก ปี่ชวา ของชวา (อินโดนิเซีย) กลองมลายู ของมลายู (มาเลเซีย) เปิงมาง ตะโพนมอญ ปี่มอญ และฆ้องมอญ ของมอญ กลองยาวของพม่า ขิม ม้าล่อของจีน กลองมริกัน (กลองของชาวอเมริกัน) เปียโน ออร์แกน และ ไวโอลีน ของประเทศทางตะวันตก เป็นต้น

สยาม (ประเทศไทย ในปัจจุบัน)

เป็นประเทศที่ ชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก รู้จัก เพราะนอกจากมีเอกลักษณ์ คือ รอยยิ้ม ของคนในประเทศแล้ว ยังมี วิถีชีวิต ที่แสดงถึง ความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ตลอดจน ยังมี ศิลป วัฒนธรรม ที่น่าสนใจ และไม่เหมือนประเทศใดในโลก

Posted in ไม่มีหมวดหมู่